โลโก้ของ Coinbase

ภาษาและภูมิภาค

การค้ำประกันคืออะไร

การค้ำประกันคืออะไร

เช่นเดียวกับหลายๆ ประเด็นในวงการเงินดิจิทัล การสเตคอาจเป็นได้ทั้งเรื่องที่เข้าใจยากและเข้าใจง่าย ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะทำความเข้าใจในระดับใด ซึ่งในมุมของนักเทรดและนักลงทุนหลายๆ คน ประเด็นสำคัญอยู่ที่การทราบว่าการสเตคเป็นวิธีการรับรางวัลตอบแทนจากการถือครองเงินดิจิทัล และถึงแม้ว่าคุณต้องการจะรับรางวัลจากการสเตคเพียงอย่างเดียว แต่หากศึกษาสักหน่อยว่าลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร รวมถึงสาเหตุว่าทำไมการสเตคถึงมีลักษณะการทำงานในรูปแบบดังกล่าว ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย 

การค้ำประกันทำงานอย่างไร

หากสกุลเงินดิจิทัลที่คุณครอบครองอยู่เปิดให้สเตคได้ ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งสกุลเงิน Ethereum, Tezos, Cosmos, Solana, Cardano ฯลฯ คุณจะนำเงินดิจิทัลบางส่วนมา "สเตค" แล้วรับรางวัลได้เรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป

เหตุผลที่เงินดิจิทัลของคุณได้รับรางวัลขณะค้ำประกันอยู่ก็คือ บล็อกเชนนำเงินดิจิทัลนั้นไปทำงาน โดยสกุลเงินดิจิทัลที่เปิดให้ค้ำประกันได้นั้นจะใช้ “กลไกฉันทามติ” ที่เรียกว่า Proof of Stake  ซึ่งเป็นวิธีการในการรับรองว่าธุรกรรมทั้งหมดได้รับการตรวจสอบและปกป้อง โดยไม่ต้องอาศัยธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงินมาเป็นตัวกลาง และเงินดิจิทัลที่คุณค้ำประกันไปก็จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการนั้น 

เราจะมีรางวัลจากการค้ำประกัน ETH2 บน Coinbase แล้วในเร็วๆ นี้

คุณจะสามารถใช้อีเธอร์เรียมให้ทำงานและรับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดถึง 5% ต่อปี

ทำไมการค้ำประกันจึงมีแค่ในบางสกุลเงิน

คำถามนี้จะเริ่มเจาะลึกไปทางด้านเทคนิคมากยิ่งขึ้น บิตคอยน์คือตัวอย่างของสกุลเงินที่ไม่รับค้ำประกัน ถ้าหากอยากทราบเหตุผลของการไม่รับค้ำประกัน คุณจะต้องทราบที่มาที่ไปสักเล็กน้อย 

  • โดยทั่วไปแล้ว สกุลเงินดิจิทัลจะเป็นแบบกระจายอำนาจ หมายความว่าจะมีไม่หน่วยงานกลางมาคอยควบคุมการดำเนินงาน ถ้าอย่างนั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายแบบกระจายอำนาจจะค้นหาคำตอบที่ถูกต้องได้ โดยไม่ให้หน่วยงานกลางอย่างธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตทราบได้อย่างไร คำตอบก็คือ เครือข่ายเหล่านั้นใช้ “กลไกแบบฉันทามติ” 

  • สกุลเงินดิจิทัลหลายๆ สกุล ทั้งบิตคอยน์และ Ethereum 1.0 ใช้กลไกฉันทามติที่มีชื่อว่า Proof of Work โดยเครือข่ายจะใช้ Proof of Work ในการทุ่มพลังการประมวลผลมหาศาลไปกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมระหว่างบุคคลแปลกหน้าที่อยู่คนละซีกโลก และป้องกันไม่ให้มีการใช้เงินในจำนวนเดิมซ้ำสองครั้ง ซึ่งขั้นตอนในกระบวนการนี้จะต้องอาศัย “นักขุด” ทั่วโลก เพื่อแข่งกันแก้โจทย์รหัสลับให้ได้เร็วที่สุด โดยผู้ชนะจะได้รับสิทธิ์ในการเพิ่ม “บล็อก” ล่าสุดของธุรกรรมที่ผ่านการรับรองแล้วลงในบล็อกเชน และจะได้รับเงินดิจิทัลเป็นรางวัลตอบแทน 

สำหรับบล็อกเชนที่ค่อนข้างเรียบง่ายอย่างบล็อกเชนของบิตคอยน์ (ที่ทำงานคล้ายกับบัญชีแยกประเภทของธนาคาร โดยบันทึกธุรกรรมขาเข้าและขาออกทั้งหมด) Proof of Work ถือเป็นโซลูชันที่ปรับขนาดได้ แต่สำหรับบล็อกเชนที่ซับซ้อนกว่าอย่างอีเธอร์เรียม ซึ่งมีแอปพลิเคชันหลากหลายประเภทและมี DeFi ทั้งระบบทำงานอยู่บนบล็อกเชนของอีเธอร์เรียม Proof of Work อาจทำให้เกิดปัญหาคอขวดได้ เมื่อมีกิจกรรมมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ธุรกรรมใช้เวลานานขึ้น และค่าธรรมเนียมเพิ่มสูงขึ้น

Proof of Stake คืออะไร

กลไกลฉันทามติรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Proof of Stake (PoS) ถือกำเนิดขึ้นด้วยแนวคิดที่ต้องการจะเพิ่มความเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพ แต่ลดค่าธรรมเนียมลง วิธีการหลักที่ทำให้กลไกแบบ Proof of Stake (PoS) ลดค่าธรรมเนียมลงได้ก็คือ การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขให้นักขุดทุกคนไม่จำเป็นต้องแข่งกันแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์ให้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานสูง แต่ให้ผู้คนที่สเตคโทเค็นเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมแทน 

  • การสเตคมีลักษณะการทำงานคล้ายกับการขุด โดยเป็นกระบวนการที่ผู้เข้าร่วมในเครือข่ายจะได้รับเลือกให้เป็นผู้เพิ่มกลุ่มรายการธุรธรรมล่าสุดเข้าสู่บล็อกเชน และรับเงินดิจิทัลบางส่วนเป็นรางวัลตอบแทน นอกจากนี้ ผู้สเตคโทเค็นยังช่วยตรวจสอบว่าบล็อกใดบ้างที่ถูกต้อง 

  • การนำกระบวนการแบบนี้ไปใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละโปรเจ็กต์ แต่หลักสำคัญก็คือผู้ใช้จะต้องโหวตด้วยโทเค็นเพื่อรับรองความปลอดภัยของบล็อกเชน โดยโทเค็นที่ผู้ใช้นำมาสเตคไว้จะเป็นเครื่องการันตีว่าผู้ใช้ดำเนินการด้วยความสุจริตใจและเป็นหลักประกันว่าจะไม่ละเมิดกฎของโปรโตคอล

ข้อดีของการค้ำประกันมีอะไรบ้าง

หลายๆ คนที่ถือครองเงินดิจิทัลมาเป็นเวลานานมองว่า การค้ำประกันคือการให้สินทรัพย์ทำงานให้กับตนเองด้วยการสร้างรางวัล แทนที่จะสะสมเงินในกระเป๋าเงินดิจิทัลไว้เฉยๆ โดยไม่ได้อะไรเพิ่ม

การสเตคช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยและประสิทธิภาพให้กับโครงการบล็อกเชนที่คุณสนับสนุนได้ ซึ่งการนำเงินส่วนหนึ่งของคุณมาสเตคจะช่วยให้บล็อกเชนทนต่อการโจมตี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสามารถของบล็อกเชนในการประมวลผลธุรกรรมได้อีกด้วย

ความเสี่ยงในการค้ำประกันมีอะไรบ้าง

การค้ำประกันมักจะมีการล็อกสินทรัพย์เก็บไว้ หรือมีระยะเวลาใน “การมอบให้” เงินดิจิทัลของคุณจึงไม่สามารถโอนออกไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ตรงนี้อาจเป็นข้อเสีย เนื่องจากคุณจะไม่สามารถซื้อขายโทเค็นที่ค้ำประกันในระยะเวลานั้นได้ แม้ว่าราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม ดังนั้นก่อนจะค้ำประกัน คุณจึงควรศึกษาข้อกำหนดและกฎในการค้ำประกันของแต่ละโครงการที่คุณสนใจจะเข้าร่วม

ฉันจะเริ่มค้ำประกันได้อย่างไร

โดยปกติแล้ว การสเตคจะเปิดให้กับทุกคนที่สนใจเข้าร่วม ดังนั้น หากต้องการจะเป็นผู้ตรวจสอบเต็มตัว คุณก็อาจต้องใช้โทเค็นตามจำนวนขั้นต่ำและมีความรู้ทางเทคนิคอยู่บ้าง รวมถึงจะต้องมีคอมพิวเตอร์ไว้สำหรับกระบวนการนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องเป็นคอมพิวเตอร์ที่ดำเนินการตรวจสอบได้ทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่หยุดทำงาน การเข้าร่วมในระดับนี้จะต้องคำนึงถึงการทำงานที่ปลอดภัย ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างมาก เพราะหากคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน โทเค็นที่ผู้ตรวจสอบสเตคไปก็อาจมีโอกาสถูกทำลาย

แต่สำหรับผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่แล้ว ยังมีวิธีการเข้าร่วมที่ง่ายกว่า โดยสามารถลงทุนในจำนวนที่คุณพร้อมจะจ่ายได้ ผ่านผู้ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น Coinbase โดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือใช้ฮาร์ดแวร์ราคาแพงเพื่อปฏิบัติงานในฐานะผู้ตรวจสอบ ส่วนใหญ่แล้ว ลูกค้า Coinbase ในสหรัฐฯ และในหลายๆ ประเทศทั่วโลกจะสามารถสเตคได้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้ำประกันผ่าน Coinbase

ดาวน์โหลดแอป