โลโก้ของ Coinbase

7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับบิตคอยน์

Debunking Bitcoin Myths

จากข่าวใหญ่ที่เกิดขึ้นเกือบทุกวันเกี่ยวกับบิตคอยน์ ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาแก้ไขกับความเชื่อผิดๆ และแนวคิดที่ไม่ถูกต้องในหมู่คนทั่วไปเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีแรกในโลก มาดูกันว่าเรื่องเหล่านี้มีมูลบ้างหรือไม่ และแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องกันเถอะ ตัวอย่างเช่น หากคุณคิดว่ามูลค่าของบิตคอยน์ “ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไรเลย” หรือคิดว่าบิตคอยน์มีความผันผวนมากจนไม่สามารถนำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้แล้วล่ะก็ คู่มือนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น เราจะแยกข้อเท็จจริงออกจากความเชื่อ โดยไม่หลบเลี่ยงที่จะกล่าวถึงความเสี่ยงที่มีอยู่จริง เพื่อเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกนี้ให้กระจ่าง

ความเชื่อ #1: บิตคอยน์จะเกิดภาวะฟองสบู่

แม้ว่าบางคนจะซื้อบิตคอยน์เพื่อลงทุนแบบเก็งกำไรให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าบิตคอยน์จะมีโอกาสเกิดฟองสบู่ ภาวะฟองสบู่เป็นวงจรทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการพุ่งทะยานขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอของมูลค่าตลาด ซึ่งฟองสบู่จะแตกก็ต่อเมื่อนักลงทุนทราบแล้วว่า ราคาของสินทรัพย์หนึ่งสูงเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์นั้นไปมาก ในบางครั้งบิตคอยน์ก็ถูกเปรียบกับภาวะฟองสบู่อันโด่งดังในยุคแรกๆ ซึ่งก็คือวิกฤต “ความคลั่งดอกทิวลิป” ของประเทศเนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 17 โดยในปี 1637 นักเก็งกำไรทำให้ราคาของทิวลิปบางสายพันธุ์พุ่งขึ้นถึง 26 เท่า ภาวะฟองสบู่ครั้งนี้กินเวลาถึงหกเดือน โดยเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง อีกทั้งยังไม่ฟื้นคืนกลับมาอีกด้วย

ความจริง

  • ตลอดเวลา 12 ปี บิตคอยน์ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงตามวงจรด้านราคามาแล้วหลากหลายแบบ แต่ก็ฟื้นตัวกลับมาได้ทุกครั้งและทำสถิติใหม่สูงสุดตลอดกาลได้เสมอ ซึ่งก็เหมือนกับวงจรที่เติบโตแล้วหดตัวที่เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นปกติ ตัวอย่างเช่น ในช่วงยุคดอทคอมในช่วงปลายทศวรรษเก้าศูนย์ หุ้นเทคโนโลยีจำนวนมากมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากนั้นก็ดิ่งลงเป็นอย่างมาก สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าฟองสบู่เพื่อการเก็งกำไรสามารถส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ได้อย่างไร รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งอาจประสบกับความผันผวนและความเสี่ยงที่คล้ายคลึงกันก่อนที่จะทรงตัวหรือประสบผลสำเร็จในการเติบโตระยะยาว

  • นักลงทุนบิตคอยน์รายใหญ่บางส่วนเชื่อว่า การแกว่งของราคาบิตคอยน์จะกลายมาเป็นลักษณะที่พบเห็นได้ทั่วไปในตลาดเกิดใหม่ โดยเชื่อว่าบิตคอยน์จะเติบโตและหดตัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่แกว่งไปมาน้อยลงและมีระยะเวลาในการเติบโตและหดตัวห่างกันมากขึ้น จนกว่าจะถึงช่วงเวลาหนึ่งในอนาคตที่บิตคอยน์จะเริ่มเข้าสู่ภาวะที่เสถียรยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความจริงในข้อนี้

ความเชื่อ #2: บิตคอยน์นำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้

นักวิจารณ์มักจะอ้างว่า บิตคอยน์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง หรือถ้าใช้ประโยชน์ได้จริง ก็มักจะใช้ประโยชน์ในการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่จริงแล้ว ความเชื่อเหล่านั้นไม่มีส่วนใดที่ถูกต้องเลย บิตคอยน์มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานในการเป็นช่องทางการชำระเงินที่ส่งถึงได้ทุกคนจากทั่วโลก โดยไม่ต้องอาศัยธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงินมาเป็นตัวกลางและมีการใช้มากขึ้นเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อโดยนักลงทุนสถาบันรายใหญ่

ความจริง

  • กองทุนและบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์รายใหญ่ๆ (Tesla, Square, MicroStrategy) เริ่มหันมาซื้อบิตคอยน์กันมากขึ้นในมูลค่าหลายล้าน หรือแม้กระทั่งหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อให้เป็นช่องทางในการบริหารจัดการสินทรัพย์ภายในที่ดียิ่งขึ้น

  • ทองคำยังค่อนข้างคงที่ในแง่ของความผันผวนของราคา ในทางกลับกัน บิตคอยน์เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความผันผวนของราคาอย่างมาก ซึ่งสามารถให้โอกาสสำหรับผลตอบแทนที่สูง แต่ยังมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น

  • ในแง่ของความสะดวกสบาย บิตคอยน์สามารถส่งแบบดิจิทัลได้ ทําให้เหมาะสําหรับการทําธุรกรรมทางการเงินสมัยใหม่มากขึ้น ทองคำมีหนัก มีขนาดใหญ่ และยากต่อการขนส่งและจัดเก็บ ซึ่งอาจเป็นความท้าทายด้านโลจิสติกส์

  • ในปีแรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้น บิตคอยน์ได้รับความสนใจในแง่ลบ โดยมีการใช้เป็นช่องทางการชำระเงินในเว็บใต้ดิน แต่เมื่อตลาดเว็บใต้ดินขนาดใหญ่ตลาดแรกปิดตัวลง ราคาของบิตคอยน์ก็พุ่งขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น และยังคงไต่ระดับขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง 

  • บิตคอยน์บางส่วนอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นเดียวกับเงินในทุกๆ ประเภท แต่เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐแล้ว การใช้บิตคอยน์ในทางมิชอบก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น้อยมากๆ ตามรายงาน ปริมาณธุรกรรม Bitcoin 2.1 % ในปี 2019 เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรม 

  • เนื่องจากธุรกรรมบิตคอยน์ทั้งหมดจะดำเนินการอยู่ภายในบล็อกเชนแบบเปิด ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมักจะแกะรอยการใช้งานในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายได้อย่างง่ายดายมากกว่า เมื่อเทียบกับระบบการเงินแบบดั้งเดิม 

ความเชื่อ #3: บิตคอยน์ไม่มีมูลค่าที่แท้จริง

แม้ว่าบิตคอยน์จะไม่มีสินทรัพย์ที่จับต้องได้มาเป็นหลักประกันมูลค่าเหมือนอย่างทองคำ แต่เงินดอลลาร์สหรัฐ หรือสกุลเงินกระดาษยุคใหม่ในแบบเสมือนจริงก็ไม่มีหลักประกันดังกล่าวเช่นกัน บิตคอยน์ได้รับการฝังข้อมูลเอาไว้เพื่อสร้างคุณลักษณะที่มีความหายาก จึงทำให้บิตคอยน์ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อในขณะที่ภาวะเงินเฟ้ออาจเกิดขึ้นได้กับสกุลเงินกระดาษเมื่อมีการพิมพ์เงินขึ้นมาในจำนวนมากๆ ซึ่งส่งผลให้มูลค่าของเงินในคลังลดลง

ความจริง

  • บิตคอยน์จะมีอยู่เพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ทำให้ความหายากนี้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญต่อมูลค่าของบิตคอยน์ 

  • นอกจากจะมีการจำกัดอุปทานไว้แล้ว จำนวนของบิตคอยน์ใหม่ที่ถูกขุดขึ้นมาก็จะลดลงไปตามกลไกที่กำหนดเมื่อเวลาผ่านไป ทุกๆ สี่ปีจะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “การลดลงครึ่งหนึ่ง” ซึ่งเป็นการลดรางวัลจากบล็อกที่จะมอบให้กับนักขุดในเครือข่ายให้เหลือเพียงครึ่งเดียว 

  • วิธีนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่า อุปทานของบิตคอยน์จะลดลงอยู่เสมอตามหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานว่าด้วยการมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้แนวโน้มของราคาส่วนใหญ่เป็นแนวโน้มขาขึ้นในระยะยาว ซึ่งดูได้จากแนวโน้มราคาในช่วงแรกที่ไม่ถึงหนึ่งเพนนี จนไต่ระดับได้มากกว่า 66,000 ดอลลาร์ในช่วงกลางเดือนเมษายน ปี 2024 (ดู ราคาปัจจุบันของบิตคอยน์)

  • นอกจากนี้ มูลค่าของบิตคอยน์ยังเกิดขึ้นจากการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การขุด ซึ่งเป็นกระบวนการที่คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงจากทั่วโลกร่วมกันสร้างพลังการประมวลผลระดับมหาศาล ผ่านการตรวจสอบและปกป้องธุรกรรมทุกรายการให้ปลอดภัย (โดยที่เจ้าของคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะได้รับบิตคอยน์ใหม่เป็นรางวัลตอบแทน) 

ความเชื่อ #4: บิตคอยน์จะถูกเบียดโดยคู่แข่งในตลาด

บิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง และแม้ว่าคริปโตเคอเรนซีใหม่ๆ จะมีจุดมุ่งหมายในการโค่นล้มตำแหน่งของบิตคอยน์ด้วยฟีเจอร์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ หรือด้วยข้อได้เปรียบอื่นใดก็ตาม แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีสกุลเงินดิจิทัลใดที่มีทีท่าว่าจะทำได้สำเร็จตามเป้าหมายนั้น

ความจริง

  • แม้ว่าจะมีสกุลเงินดิจิทัลคู่แข่งเกิดขึ้นมากมายนับพันสกุลเงินในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่บิตคอยน์ก็ยังคงเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่ามากที่สุดด้วยมูลค่าตามราคาตลาดจากอัตรากำไรในระดับสูง

  • และบิตคอยน์ยังเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีส่วนแบ่งในตลาดเงินดิจิทัลถึง 60%

  • เหตุผลรวมถึงข้อได้เปรียบ “ผู้เคลื่อนไหวคนแรก” ของบิตคอยน์พร้อมกับเป้าหมายที่จะเป็นสกุลเงินแบบกระจายศูนย์และเปิด

  • ซึ่งสาเหตุดังกล่าวก็ไม่ได้ปิดกั้นให้สกุลเงินอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งเข้ามาลองใช้งาน โดยบิตคอยน์มีลักษณะเป็นแบบกระจายศูนย์ จึงเป็นสกุลเงินที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนนักขุดจากทั่วโลกและโหนดหลายๆ โหนด และไม่มีหน่วยงานกลาง

  • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าโครงสร้างภายในของบิตคอยน์จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มฟังก์ชันการทำงานหรือฟีเจอร์ใหม่ๆ หรือจะต้องดำเนินการเพื่อป้องกันความเสียหายจากข้อบกพร่องที่พบล่าสุด ชุมชนผู้ใช้งานก็สามารถ Fork เพื่ออัปเกรดเครือข่ายได้ 

  • การอัปเกรดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเสียงส่วนใหญ่กว่า 51% ในชุมชนสนับสนุนให้ทำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการอัปเกรดจะทำให้บิตคอยน์ปรับเปลี่ยนและพัฒนาในขั้นต่อไปได้ตามที่กำหนด ดังเช่นในการอัปเกรด Segregated Witness (“SegWit”) ของบิตคอยน์เมื่อปี 2017 

  • เนื่องจากซอฟต์แวร์ของบิตคอยน์เป็นแบบโอเพ่นซอร์ส นั่นทำให้นักพัฒนาที่ไม่ได้รับฉันทามติของชุมชนสามารถ Hard Fork บล็อกเชนของบิตคอยน์ และสร้างสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมาใหม่ได้ ตัวอย่างในกรณีนี้ก็คือ Bitcoin Cash ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการดังกล่าว แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีสกุลเงินที่คัดลอกมาจากบิตคอยน์สกุลใดที่มีวี่แววว่าจะมาแทนบิตคอยน์ได้

  • แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายในโลกของเงินดิจิทัล ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าคู่แข่งของบิตคอยน์ที่น่ากลัวกว่าเดิมจะถือกำเกิดขึ้น แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะยังไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะมาแทนที่บิตคอยน์ได้

ความเชื่อ #5: การลงทุนในบิตคอยน์คือการเสี่ยงโชค

แม้ว่าความจริงแล้ว บิตคอยน์จะประสบกับความผันผวนด้านราคามาตลอดสิบปีที่ผ่านมา แต่นั่นก็ถือได้ว่าเป็นลักษณะของตลาดเกิดใหม่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่บิตคอยน์กำเนิดบล็อกในปี 2010 บิตคอยน์ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าตามราคาตลาดมากกว่า 1,300 พันล้านดอลลาร์ (ณ เดือนเมษายน 2024 โปรดดูมูลค่าตามราคาตลาดปัจจุบัน) และในขณะที่บิตคอยน์ยังคงเติบโตเต็มที่ โครงสร้างทางกฎหมายก็เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการยอมรับของสถาบันที่เพิ่มมากขึ้น (Tesla กองทุนบริหารความเสี่ยง) 

เรื่องจริงที่เกิดขึ้น

  • มีแนวคิดพื้นฐานที่รองรับความเชื่อของนักลงทุนบิตคอยน์ที่ว่า มูลค่าของบิตคอยน์ที่พวกเขาถือครองอยู่จะเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ถ้าเป็นการพนัน ฝ่ายเจ้าของบ่อนมักจะเป็นต่อฝ่ายตรงข้ามอยู่แล้ว แน่นอนว่าไม่มีการรับประกันใดๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพในอนาคตหรือผลลัพธ์ที่ต่อเนื่อง แต่แนวโน้มระยะยาวของบิตคอยน์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้นเป็นแนวโน้มขาขึ้น

  • หนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่ช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนได้ก็คือ การถัวเฉลี่ยต้นทุน ซึ่งเป็นการลงทุนตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในทุกๆ สัปดาห์หรือทุกเดือน โดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาวะที่เกิดขึ้นในตลาด

  • ดูเหมือนว่าในปัจจุบัน ความผันผวนของบิตคอยน์จะลดลงแล้ว จากข้อมูลวิเคราะห์ของ Bloomberg ที่ได้เปรียบเทียบตลาดกระทิงของบิตคอยน์ในปัจจุบันกับการเติบโตอย่างสุดขีดของบิตคอยน์ในปี 2017 พบว่าความผันผวนนั้นลดลงอย่างมากในช่วงเวลาปัจจุบัน โดยมีสาเหตุมาจาก การที่นักลงทุนในระดับสถาบันและองค์กรเข้ามามีบทบาทกันมากขึ้น บวกกับผลลัพธ์ที่ช่วยเพิ่มเสถียรภาพโดยรวมจากการที่เงินดิจิทัล “ได้รับกระแสนิยมมากขึ้นในหมู่คนทั่วไป”

  • ในต้นปี 2024 มีการพัฒนาที่สำคัญเกิดขึ้นในโลกของการลงทุนบิตคอยน์ Spot ETF สําหรับบิตคอยน์ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นช่วงเวลาสําคัญสําหรับคริปโตเคอเรนซี ไม่เหมือนเมื่อก่อน การลงทุนบิตคอยน์ถือเป็นการพนัน ETF เหล่านี้นำเสนอวิธีการลงทุนในบิตคอยน์ที่มีโครงสร้างและควบคุม ด้วยการกำกับดูแลและกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ETF เหล่านี้มีศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนที่หลากหลายในวงกว้าง เป็นผลให้บิตคอยน์อาจรวมเข้ากับพอร์ตการลงทุนแบบดั้งเดิมมากขึ้น

  • ปัจจัยบ่งชี้ว่าคุณจะมีบิตคอยน์หรือเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆ ในพอร์ตการลงทุนหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับสถานภาพส่วนตัวของคุณ รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และระยะเวลาในการลงทุนของคุณ และถึงแม้ว่าบิตคอยน์จะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่บิตคอยน์ก็มีแนวโน้มที่ดิ่งลงต่ำเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องลงทุนในตลาดที่มีความผันผวนอย่างระมัดระวัง (และลองปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินก่อนเริ่มลงทุนครั้งใหญ่)

ความเชื่อ #6: บิตคอยน์ไม่มีความปลอดภัย

เครือข่ายบิตคอยน์ไม่เคยโดนโจมตีโค้ดแบบโอเพ่นซอร์สของบิตคอยน์จะได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มากมายนับไม่ถ้วน และบิตคอยน์ก็เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่แก้ไขปัญหาการใช้จ่ายสองต่อได้สำเร็จ ทำให้ความเชื่อเรื่องสกุลเงินแบบเพียร์ทูเพียร์ที่ “ไม่ต้องอาศัยความไว้วางใจ” กลายเป็นเรื่องจริง นอกจากนี้ ธุรกรรมบิตคอยน์ทุกรายการจะไม่สามารถย้อนกลับได้

ความจริง

  • ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยของบิตคอยน์เกิดขึ้นจากการโจมตีธุรกิจและบริการด้านบิตคอยน์ในระดับบุคคลที่สาม ซึ่งใช้ประโยชน์จากบิตคอยน์ แต่ไม่ได้ใช้เครือข่ายบิตคอยน์โดยตรง การโจมตีครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นกับบริษัทบิตคอยน์ในยุคแรกๆ ที่มีกระบวนการด้านความปลอดภัยหละหลวม (เช่น การโจมตีแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนในยุคเริ่มต้นที่มาจากญี่ปุ่นอย่าง Mt. Gox) และการเจาะข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว (เช่น การเจาะข้อมูลที่ทำให้ผู้ใช้กระเป๋าเงิน Ledger ได้รับความเสียหาย) ทำให้ผู้ใช้บางส่วนเริ่มตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของบิตคอยน์

  • โปรโตคอลหลักของบิตคอยน์ทำงานได้อย่างปลอดภัยด้วยเปอร์เซ็นต์เวลาทำงานกว่า 99.9% ตั้งแต่ปี 2009 ที่บิตคอยน์ถือกำเนิดขึ้น

  • พลังการประมวลผลในระดับมหาศาลนั้นช่วยให้เครือข่ายมีความปลอดภัย โดยนักขุดที่ร่วมสร้างพลังการทำงานในเครือข่ายก็กระจายตัวอยู่ทั่วโลก โดยมีโหนดในกว่า 100 ประเทศ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าไม่มีจุดใดที่จะทำให้เครือข่ายล้มเหลวได้

ความเชื่อ #7: บิตคอยน์ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

การขุดบิตคอยน์เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก แต่ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่บอกได้ยาก ที่แน่ๆ ก็คือ ระบบเศรษฐกิจเงินดิจิทัลจะต้องใช้พลังงานในการขับเคลื่อนทุกๆ ส่วน ซึ่งก็เหมือนกันกับทุกส่วนของระบบการธนาคารทั่วโลกที่จำเป็นต้องใช้พลังงานทั้งหมดเพื่อดำเนินการกับธุรกรรมธนาคาร รวมถึงมอบพลังงานให้กับตึกสำนักงาน ตู้ ATM ธนาคารในแต่ละสาขา และอื่นๆ อีกมากมาย

ความจริง

  • งานวิจัยล่าสุดของกองทุน Ark Investment Management จากนิวยอร์กได้สรุปเอาไว้ว่า “บิตคอยน์มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบธนาคารแบบดั้งเดิม และมีประสิทธิภาพมากกว่าการขุดทองคำทั่วโลก”

  • สัดส่วนการขุดบิตคอยน์จำนวนมากนั้นเกิดขึ้นโดยอาศัยแหล่งพลังงานหมุนเวียน (ทั้งพลังงานลม น้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์) โดยดัชนี Cambridge Bitcoin Electricity Consumption Index ชี้ให้เห็นว่า ตัวเลขของการใช้พลังงานหมุนเวียนดังกล่าวนั้นอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ถึง 70 เปอร์เซ็นต์เป็นอย่างต่ำ 

  • นักวิจัยจาก Cambridge ชี้ว่า “ผลกระทบจากการใช้พลังงานของบิตคอยน์ในปัจจุบันนั้นอยู่ในระดับที่ยังไม่เกินขอบเขตที่กำหนด”  

  • ซึ่งข้อคิดเห็นในประเด็นนี้ก็ยังเสริมให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ที่แฝงอยู่ในการขุดบิตคอยน์ผลักดันให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมด้านพลังงานยั่งยืนได้อีกด้วย เนื่องจากนักขุดเองก็พยายามหาแนวทางเพิ่มผลตอบแทนด้วยการลดค่าใช้จ่ายสำหรับไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งในปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียนก็ได้กลายมาเป็นทางเลือกที่มีราคาถูกในระยะเวลาเพียงไม่นาน

ดาวน์โหลดแอป