โลโก้ของ Coinbase

ข่าวสารผ่านบล็อก #9: การเริ่มต้นของสงครามโปรโตคอล DeFi

บทเริ่มต้น: สงครามในบล็อกเชนกำลังร้อนระอุ

ข่าวสารผ่านบล็อกของ Coinbase จะมาไขความกระจ่างของข้อสงสัยประเด็นหลักๆ ในโลกของเงินดิจิทัล และในฉบับนี้ Justin Mart จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับการเริ่มต้นขึ้นของสงครามโปรโตคอล DeFi รวมถึงข่าวที่น่าสนใจอื่นๆ ในโลกของเงินดิจิทัล

แอปพลิเคชันที่ทำงานบนบล็อกเชนเป็นแอปพลิเคชันแบบเปิด และมีความโปร่งใสในตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะที่มีประโยชน์ เพราะเปิดโอกาสให้คนทั่วไปตรวจสอบโครงการและยืนยันได้ว่าทุกๆ องค์ประกอบในนั้นทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น แต่คุณลักษณะเหล่านั้นก็มีข้อเสียพึงระวังแฝงอยู่เช่นกัน โดยซอร์สโค้ดแบบสาธารณะนี้จะทำให้บุคคลอื่นคัดลอกโครงการที่มีอยู่ (ก็คือการ “แยกตัว” หรือ Fork โครงการออกมาเพิ่ม) จากนั้นนำไปดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ แล้วเปิดตัวเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาแข่งได้อย่างง่ายดาย

ในระหว่างที่ระบบนิเวศ DeFi เติบโต บางโครงการก็เริ่มได้รับประโยชน์จากการมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดได้เป็นอย่างดี และสร้างกระแสรายรับได้จริง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าในปัจจุบัน ผู้คนในชุมชนกำลังพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากสงครามโปรโตคอล ซึ่งเป็นช่องทางที่ใครๆ ก็สามารถแตกโครงการที่ประสบความสำเร็จออกมาเพิ่ม แล้วพยายามแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของโครงการนั้นไปได้ ลองมาดูจากตัวอย่างกัน

สงครามโปรโตคอลครั้งที่หนึ่ง: Sushiswap กับ Uniswap

สงครามโปรโตคอลเริ่มปะทุขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม เมื่อจู่ๆ กลุ่มนักพัฒนานิรนามได้ประกาศเปิดตัว Sushiswap แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยน หรือ Decentralized Exchange (DEX) น้องใหม่ที่เลียนแบบมาจาก Uniswap เกือบทั้งหมด แต่มีข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ หนึ่งข้อที่ต้องปรับ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ Sushiswap จะทำการเพิ่มโทเค็น $SUSHI เพื่อให้เป็นทั้งโทเค็นการควบคุม (โดยผู้ถือครองโทเค็นนี้จะมีสิทธิ์ออกเสียงในข้อเสนอและการปรับเปลี่ยนแก้ไขที่ยื่นขอภายในแพลตฟอร์ม) และเป็นโทเค็นเพื่อการมอบมูลค่าที่ 0.05% (5bps) ให้กับทุกๆ ปริมาณการซื้อขายในแพลตฟอร์ม

การเพิ่มโทเค็น $SUSHI ก็ไม่ได้นับว่าเป็นแนวทางที่น่าตื่นเต้นอะไร แต่ Sushiswap เองก็ยืนยันว่า แพลตฟอร์มของตนให้รางวัลจูงใจกับผู้ปล่อยสภาพคล่อง (Liquidity Provider หรือ LP) มากกว่า ซึ่งหากเป็นจริงตามนั้น Sushiswap ก็จะมีสภาพคล่องมากกว่า Uniswap ทำให้ในมุมของเทรดเดอร์ Sushiswap จะดำเนินการซื้อขายได้ดีกว่า ส่งผลให้มีปริมาณการซื้อขายมากกว่า และตลาดนี้ก็มีมูลค่าสูง จากที่ในปัจจุบัน Uniswap สร้างเม็ดเงินจากค่าธรรมเนียมได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ต่อวัน (แต่จะแจกจ่ายให้กับ LP ก่อน)

นอกจากนี้ ยังมีข้อได้เปรียบอีกข้อหนึ่ง โดย Sushiswap ก็ได้เปิดให้มีการ Yield Farming เพื่อใช้เป็นกลไกการแจกจ่ายโทเค็นอย่างยุติธรรม และเป็นแนวทางอันชาญฉลาดที่จะดึงดูดให้สภาพคล่องภายใน Uniswap ย้ายมาอยู่ที่ Sushiswap แทน ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดมีดังนี้

  • หาสภาพคล่องมาเก็บเอาไว้ (เช่น ETH หรือ USDC) เพื่อเลือกกลุ่มใน Uniswap ซึ่งจะให้ “โทเค็นในกลุ่ม LP ของ Uniswap” ที่เป็นตัวบอกสัดส่วนสภาพคล่องภายในกลุ่มนั้นที่บุคคลหนึ่งถือครองอยู่

  • ฝากโทเค็นในกลุ่ม LP ของ Uniswap เหล่านั้นไว้ในสัญญา Sushiswap (ซึ่งก็คือการ “ค้ำประกัน” โทเค็นเหล่านั้น) จากนั้น Sushiswap ก็จะให้โทเค็น $SUSHI ตามสัดส่วนที่จะต้องกระจายออกไป และนี่ก็คือวิธีที่ทำให้ $SUSHI เป็นที่รู้จักในตลาด จากการแจกจ่ายให้กับผู้ใช้ซึ่งสร้างสภาพคล่องให้กับ Sushiswap

  • ในอนาคตที่มีการระบุช่วงเวลาไว้แล้ว สัญญาอัจฉริยะของ Sushiswap ก็จะเปลี่ยนโทเค็นกลุ่ม LP ของ Uniswap ที่ค้ำประกันไว้ทั้งหมดให้กลายมาเป็นโทเค็นกลุ่ม LP ของ Sushiswap ไปพร้อมๆ กับแลกสินทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่มของ Uniswap ที่ค้ำประกันไปทั้งหมด แล้วฝากสินทรัพย์ที่ได้มาเอาไว้ในกลุ่มที่คล้ายกับกลุ่มของ Sushiswap

แล้วผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร สภาพคล่องของ Uniswap ก็จะย้ายไปอยู่ที่ Sushiswap โดยอัตโนมัติ โดยมีปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนจากการที่ผู้ใช้พยายามหาทางให้ตนเองได้รับโทเค็น $SUSHI ที่กระจายให้ผู้ใช้ตามสัดส่วน นับเป็นการริเริ่มแพลตฟอร์มใหม่สำหรับ DEX ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหั่นขาเก้าอี้ของแพลตฟอร์มเก่าไปได้พร้อมๆ กัน เรียกว่าเป็นการต่อสู้ในสงครามสภาพคล่องที่ทุ่มกันสุดตัวเลยทีเดียว

แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร

เรื่องราวสั้นๆ ก็จบลงเพียงเท่านี้ ซึ่งโดยสรุปแล้ว โทเค็นในกลุ่ม LP ของ Uniswap เกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ถูกย้ายไปที่สัญญาใน Sushiswap แทน ทำให้โทเค็น $SUSHI ของแพลตฟอร์มนี้มีผู้ฝากเพิ่มขึ้น และในบางครั้ง อัตราผลตอบแทนสำหรับผู้ค้ำประกันใน Sushiswap เหล่านี้จะเพิ่มเป็น 1000% ต่อปี ซึ่งก็จะกระตุ้นให้แพลตฟอร์มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่มีปริมาณการฝากสินทรัพย์จำนวนมาก $SUSHI ก็กลายเป็นอีกหนึ่งโทเค็นที่เปิดให้มีการซื้อขายกันในหลายๆ DEX และในบางแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนแบบรวมอำนาจ โดยทำมูลค่าได้อย่างรวดเร็วจนมูลค่าตามราคาตลาดแตะ 300 ล้านดอลลาร์ไปแล้ว

แต่ในสัปดาห์ต่อมา ทุกอย่างก็เริ่มพลิกผัน ราคาเริ่มดิ่งลงเมื่อระบบออกโทเค็นให้กับผู้ที่ทำ Yield Farming อยู่เรื่อยๆ โดยที่บางคนมีจุดประสงค์แค่จะขายโทเค็นเหล่านั้นออกไปให้ได้เร็วที่สุดเท่านั้น ซึ่งราคาที่ดิ่งลงเป็นตัวกระตุ้นให้หัวหน้านักพัฒนานิรนาม (“Chef Nomi”) ขายโทเค็น $SUSHI มูลค่ารวมกว่า 14 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้การลงทุนในระยะยาวเกิดขึ้นต่อไป แต่ความเคลื่อนไหวนี้ก็ทำเอาผู้คนในชุมชนตกใจ และเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของผู้คนในชุมชนด้วย (จากที่นักพัฒนารายนี้เคยยืนยันเอาไว้ว่าจะไม่ขายแม้แต่โทเค็นเดียว) ต่อมาเขาจึงถูกไล่ออกจากโครงการนี้ (หลังจากที่ได้ออกมาแถลงเพื่อขอโทษและนำเงินทุนในจำนวนนั้นคืนกลับไป)

แต่ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่า Sushiswap จะประสบความสำเร็จในการย้ายสภาพคล่องจาก Uniswap มาไว้ในแพลตฟอร์มตนเองและเปิดให้บริการแลกเปลี่ยนได้ แต่กระแสความนิยมและความสนใจที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆ กลับถดถอยลง และจากเครดิตที่ Sushiswap มี ทำให้ในปัจจุบัน โครงการจึงต้องดำเนินต่อไปโดยละทิ้งจุดเริ่มต้นเดิม โดยเล็งที่จะผสานรวมเข้ากับบล็อกเชนอื่นๆ เช่น Solana และเดินตามเส้นทางของตนเองเพื่อให้อยู่รอดต่อไป

จุดที่น่าสนใจก็คือ Uniswap ไม่ได้ยอมแพ้ในการโจมตีครั้งนี้ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะไม่มีโทเค็นที่ใช้ภายในแพลตฟอร์ม แต่ช่องโหว่ในจุดนี้ก็ทำให้โต้แย้งได้ทันทีว่าเป็นข้อด้อยที่น่ากลัวสำหรับแพลตฟอร์มนี้ ดังนั้นในวันที่ 17 กันยายน Uniswap จึงได้เปิดตัว $UNI โทเค็นการควบคุมในแพลตฟอร์มของตน และแจกจ่ายโทเค็น $UNI มูลค่าราว 1,000 ดอลลาร์ให้แก่ผู้ใช้เดิมของ Uniswap ทุกรายทันที และนอกจากนี้ก็จะแจกจ่ายโทเค็น $UNI ที่เหลือผ่านการทำ Yield Farming เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนผู้ใช้สำหรับการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้ใช้ที่เหนียวแน่นมาโดยตลอด

ในปัจจุบัน Sushiswap ยังรักษามูลค่า TVL ไว้ได้เป็นอย่างดีที่ 300 ล้านดอลลาร์ โดยมีมูลค่าการซื้อขายที่ 40 ล้านดอลลาร์ต่อวัน และมีมูลค่าตามราคาตลาดที่ 100 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขเหล่านั้นถือว่าไม่แย่สำหรับโครงการที่เปิดตัวมาเพียงแค่หนึ่งเดือน แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า Uniswap ที่มี TVL ถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ และมูลค่าการซื้อขาย 300 ล้านดอลลาร์ต่อวัน รวมถึงมูลค่าตามราคาตลาดที่ 300 ล้านดอลลาร์ ศึกแรกนี้ ชัยชนะยังคงเป็นของผู้เล่นรายเก่า

การโจมตีของคู่แข่งอื่นๆ

หลังจากที่ Sushiswap ได้บุกเบิกแนวทางนี้แล้ว โครงการอื่นๆ ก็ตามรอยกันทันที โดยมีตัวอย่างที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

การโจมตีเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา และได้ผลลัพธ์ความสำเร็จแตกต่างกันออกไป ที่น่าสังเกตก็คือ โครงการใหม่ๆ ดังกล่าวไม่สามารถแซงหน้าโครงการที่มีอยู่เดิมได้ ซึ่งแต่ละโครงการก็ยังดำเนินต่อไปได้ตามเส้นทางที่ผิดแผกไปจากเดิม โดยที่ชุมชนของโครงการเหล่านั้นก็ได้สร้างฟีเจอร์ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อปรับให้ผลิตภัณฑ์ของโครงการตอบสนองความต้องการในตลาดได้มากที่สุด

สรุปความ: สงครามโปรโตคอลและอนาคตของ DeFi

ข้อเท็จจริงที่ว่า การโจมตีเหล่านี้ไม่สามารถทำให้โครงการใหม่ก้าวขึ้นมาแทนที่โครงการเก่าได้ เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังดูน่าอุ่นใจ หากแนวทางของ Sushiswap ประสบความสำเร็จ สิ่งที่เกิดขึ้นได้ก็คือ จะมีผู้คนออกมากล่าวว่าตนเองสามารถประเมินโอกาสล้มเหลวจากการนำแนวทางนี้ไปใช้ได้ โดยยกตัวอย่างจากกรณีของการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนั่นก็จะกลายเป็นลมใต้ปีกที่ส่งเสริมให้โครงการฉบับลอกเลียนแบบไปโจมตี Sushiswap อีกทอดหนึ่งได้ง่ายๆ แต่ความสามารถในปัจจุบันที่ไม่เพียงพอจะทำให้แซงหน้า Uniswap ได้นั้นก็เป็นข้อมูลจากระยะเริ่มต้นที่มีความสำคัญซึ่งบอกให้ทราบว่า การจะเอาชนะการแข่งในตลาดแบบเปิดกว้างได้นั้นจะต้องอาศัยคุณลักษณะที่แตกต่างอย่างแท้จริง และดูเหมือนว่าในครั้งนี้ แผนพัฒนาฉบับใหม่ของ Sushiswap ก็เตรียมเดินหน้าสร้างฟีเจอร์ต่างๆ ตามเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างดังกล่าวที่จำเป็นต่อการแข่งขัน

ส่วนการคาดการณ์ในระดับที่ลงลึกมากขึ้นก็คือ การสับเปลี่ยนการลงทุนใน DeFi อาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด แม้ว่าการคัดลอกโค้ดจะทำได้ง่ายๆ แต่คุณไม่สามารถลอกเลียนแบบชุมชน แบรนด์ ความน่าเชื่อถือ รวมถึงการผสานระบบและการตระหนักรู้ที่กว้างขวางกว่าได้ แต่ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอย่างไร ดูเหมือนว่าลูกค้าจะหันเหไปทาง Uniswap มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ ทำให้แพลตฟอร์มนี้จึงยังครองอันดับสูงสุดในตลาดได้อยู่

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมที่สังเกตได้ดังนี้

  • การเปิดให้ทำ Yield Farming อย่างยุติธรรมอาจไม่ได้ช่วยส่งเสริมการเติบโตของแพลตฟอร์มในระยะยาว: การโจมตีในสงครามโปรโตคอลมีแรงกระตุ้นมาจากการแจกจ่ายโทเค็นส่วนใหญ่ (หรือทั้งหมดในบางกรณี) ให้กับผู้ใช้ในโปรโตคอลโดยตรง ซึ่งการจะเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวได้นั้นต้องอาศัยการจัดการเรื่องรางวัลจูงใจในระยะยาวเช่นกัน เมื่อแจกจ่ายโทเค็นไปแล้ว จะต้องทำอย่างไรให้นักพัฒนาต้องการสร้างสิ่งต่างๆ ในแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รางวัลตอบแทน ผู้คนในชุมชนจะสามารถกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนโปรโตคอลที่กำลังเติบโตเหล่านี้ไปได้เรื่อยๆ อย่างเหมาะสมหรือไม่ คำถามยากๆ เหล่านี้มีคำตอบที่เป็นไปได้มากมายหลายแบบ ซึ่งก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในปัจจุบัน

  • การดูแลควบคุมโดยชุมชนไม่ใช่เรื่องง่าย: โครงการแบบกระจายอำนาจที่มีการควบคุมโดยใช้โทเค็นถือเป็นโครงสร้างแบบใหม่ และมีแนวโน้มว่าจะมีข้อเสียมากมาย โครงการเหล่านี้ต้องเผชิญกับความยากลำบากจากโครงการที่เข้ามาทำสงครามโปรโตคอล ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการเกิดใหม่ที่จะต้องอาศัยการก่อตั้งชุมชนอย่างรวดเร็วเพื่อให้ประสบความสำเร็จ จึงทำให้ผู้คนอยากเข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเวลาสั้นๆ ในโครงการลักษณะนี้มากกว่า และผู้คนเหล่านั้นก็ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ให้เข้ามามีส่วนร่วมในระยะยาว

  • เสียงของผู้ใช้ทุนหนาหรือเสียงส่วนใหญ่ของผู้ใช้ทั่วไป: ในประเด็นฉาวของ Sushiswap มีเสียงลือหนาหูว่ากลุ่มคนที่มีทุนมากเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ผ่านการค้ำประกันเงินหลายล้านดอลลาร์ เพื่อให้ได้รับส่วนแบ่งโทเค็น $SUSHI เป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้ตนเองมีอำนาจกำหนดอนาคตของโปรโตคอลได้อย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งการเข้ามาพัวพันของกลุ่มคนหลายๆ ส่วนนี้ก็อาจทำให้โครงการดังกล่าวกลายเป็นโครงการที่ฟังเสียงของผู้ใช้ทุนหนา แทนที่จะเป็นเสียงส่วนใหญ่ของผู้ใช้ทั่วไป

  • การไม่ต้องระบุตัวตนก็อันตรายเช่นกัน: หลายๆ โครงการในลักษณะนี้มีผู้ก่อตั้งนิรนาม (เหมือนกับ “Chef Nomi”) ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนบนโลกเข้ามามีส่วนร่วมและร่วมเป็นเจ้าของโปรโตคอลเกิดใหม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างโครงการที่มีเจตนาร้าย เพื่อใช้กลโกงในการแอบยักยอกเงินทุนทั้งหมดโดยใช้บริการบนแพลตฟอร์มบังหน้า

เมื่อมาถึงตอนจบ ยุคสมัยใหม่นี้ก็ยังน่าจับตามองอยู่ไม่น้อย เพราะมีเหตุการณ์พลิกผันที่คล้ายคลึงกับยุคสมัยแห่งการ Fork บล็อกเชนระหว่างบิตคอยน์กับ Bitcoin Cash หรืออีเธอร์เรียมกับ Ethereum Classic แต่ยุคสมัยนี้เป็นการ Fork แอปพลิเคชันแทนบล็อกเชน ซึ่งแอปพลิเคชันเหล่านี้คล้ายกับการ Fork ตรงที่จะต้องรวบรวมผู้คนเพื่อก่อตั้งชุมชน อีกทั้งยังต้องแสดงถึงศักยภาพที่เยี่ยมยอดของผลิตภัณฑ์ และจะต้องขยับเข้ามาแทนที่ผู้เล่นหน้าเก่าในตลาดให้ได้อย่างรวดเร็ว และเช่นเดียวกับการ Fork บล็อกเชนที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เราจะเห็นได้ว่าการคัดลอกชุมชน นักพัฒนา ความน่าเชื่อถือที่โครงการต้นแบบสร้างขึ้นมา รวมถึงการคัดลอกแบรนด์และระดับการตระหนักรู้ออกมานั้นไม่สามารถทำได้

นี่คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงอนาคตของ DeFi ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ผู้ก่อตั้งที่สร้างโครงการที่แปลกใหม่ขึ้นมาและทุ่มเทกับการสรรหาผู้นำในชุมชน รวมถึงความนิยมของโครงการอาจช่วยสร้างเกราะป้องกันจากการโจมตีในสงครามโปรโตคอลได้บางส่วน และทั้งหมดนี้ก็จะช่วยส่งเสริมให้ผู้คิดค้นโครงการหันมาสร้างโครงการใหม่ๆ และช่วยขับเคลื่อนให้ DeFi เติบโตมากขึ้น

รวมประเด็นที่น่าสนใจ: บทวิเคราะห์จากข่าวใหญ่

ข่าวจาก Coinbase

ข่าวสารจากแวดวงเงินดิจิทัล

ข่าวเงินดิจิทัลในระดับสถาบันและองค์กร

ข่าวสารในแวดวงธุรกิจเกิดใหม่ด้านเงินดิจิทัล

ดาวน์โหลดแอป