โลโก้ของ Coinbase

ข่าวสารผ่านบล็อก #11: ภาพรวมเกี่ยวกับ DeFi และแง่มุมทั้งสองด้านของการบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเงินดิจิทัล

ภาพรวมเกี่ยวกับ DeFi

ในช่วงเวลาตลาดกระทิงของเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง DeFi ก็ยังคงมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงต้นฤดูร้อนปี 2020 โครงการ DeFi มีมูลค่ารวมที่ถูกล็อกไว้ หรือ Total Value Locked (TVL) เติบโตขึ้นอย่างมาก ซึ่งใน ข่าวสารผ่านบล็อก ฉบับก่อนหน้านี้ก็ได้เจาะลึกเกี่ยวกับ DeFi และปรากฏการณ์ Yield Farming ที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี 2020 แล้วเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นจนถึงปัจจุบัน หากจะให้อธิบายง่ายๆ แนวโน้มของ DeFi นั้นยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จากที่เราได้กล่าวไว้ในฉบับที่แล้วการเติบโตนี้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปรากฏการณ์ Yield Farming ซึ่งมีวงจรที่ให้ผลดี โดยเป็นวงจรที่กลไกของการ Yield Farming ชักนำให้ผู้เข้าร่วมเพิ่มเงินทุนเข้าไป → จากนั้น TVL จะเพิ่มขึ้น → ซึ่งช่วยผลักดันให้เกิดการประเมินมูลค่าโทเค็นการควบคุม → ส่งผลให้เงินอุดหนุนสำหรับ Yield Farming เพิ่มมากขึ้น → เกิดวงจรนี้ซ้ำอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมที่เริ่มจากศูนย์ซึ่งอยู่ใน DeFi นั้นก็ไม่สามารถมองข้ามไปได้ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการเติบโตนี้ ทั้งสิ่งที่เรียกว่า สินทรัพย์อนุพันธ์ที่ใช้โทเค็นแทนสัญญา หรือ Synthetic Asset (เช่น Synthetix, UMA และ Mirror) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเงินทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (เช่น Aave, Compound) นอกจากนี้ก็ยังมีการเข้าถึงการเงินแบบเปิดกว้าง (ทั้ง Flash Loan และกรณีการใช้ใหม่ๆ สำหรับการส่งเงิน) รวมถึงโปรโตคอลที่จัดเรียงเข้าด้วยกันได้ ซึ่งเรียงซ้อนกันอยู่ภายในโครงการ DeFi เช่น Yearn เป็นต้น

ในปัจจุบัน Total Value Locked ในโปรโตคอล DeFi (TVL) มีมูลค่าสูงกว่า 25 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเติบโต 2500% ในระดับปีต่อปี และในทำนองเดียวกัน จำนวนผู้ใช้ DeFi ก็มีมากกว่า 1.2 ล้านราย ซึ่งตัวเลขนี้มาจากจำนวนที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันซึ่งเข้ามาใช้งานบริการ DeFi โดยโปรโตคอลกระแสหลักอย่าง Uniswap และ Compound ได้เปิดเผยว่ามีจำนวนผู้ใช้กว่า 2-5 แสนราย ขณะที่แอป DeFi อื่นๆ โดยส่วนใหญ่มีผู้ใช้อยู่ที่ราว 2.5-5 หมื่นราย

ในขณะเดียวกัน ปริมาณ DEX ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2020 โดยปริมาณ DEX สะสมในปัจจุบันนั้นสูงกว่าปริมาณการซื้อขายแลกเปลี่ยนแบบรวมอำนาจแล้ว โดยมีปริมาณสูงสุดถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อวันในเดือนมกราคม ปี 2021

ปริมาณดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นจากการเติบโตของ DeFi แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นเพิ่มเติมด้วย ทั้งตลาดกระทิงของเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง และแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดต่างๆ ที่ DEX ยังคงได้เปรียบทางการแข่งขัน อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ อย่างการเข้าถึงกลุ่มโทเค็น DeFi ใหม่ๆ ที่ไม่ได้มีปริมาณการซื้อขายมาก และการแลกเปลี่ยนที่ให้ผลดีระหว่างสินทรัพย์ที่สัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่นเป็นอย่างมาก (เช่น เหรียญที่มีราคาคงที่)

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของ DEX ในปัจจุบันทำให้เกิดการซื้อขายอย่างต่อเนื่องบนบล็อกเชนหลักของอีเธอร์เรียม ตัวเลขนี้จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จากราคาแก๊ส (Gas) ที่ถูกกดต่ำในช่วงที่ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์นี้ผลักดันให้เกิดความสนใจในโซลูชันการปรับขนาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีก้าวสำคัญจากการที่ Synthetix เปิดตัวขึ้นใน Optimism (โซลูชันการปรับขนาดที่เน้นการรวมธุรกรรมเพื่อให้ค่าธรรมเนียมถูกลง หรือที่เรียกว่า Rollup

แม้ว่าการพิจารณาจากมาตรวัดของแนวโน้มที่สูงขึ้นจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีก็ตาม แต่ความจริงแล้ว DeFi เติบโตเร็วเกินกว่าที่ใครจะตามได้ทัน และนี่คือประเด็นของแนวโน้มขาขึ้นที่เรามองว่าน่าสนใจ 

  • โครงการ DeFi เริ่มรองรับการจัดเรียงเข้าด้วยกัน: โครงการ DeFi ใหม่ๆ มักเป็นการสร้างหน่วยในระดับพื้นฐานขึ้นมาใหม่ หรือไม่ก็มัดรวมหน่วยพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ขึ้นมา หน่วยพื้นฐานเหล่านี้เปรียบเสมือนชิ้นส่วนเลโก้ ที่เมื่อ 6 เดือนที่แล้วเราเพิ่งจะออกแบบและสร้างแต่ละชิ้นส่วนขึ้นมา และในปัจจุบัน เราก็กำลังประกอบชิ้นส่วนเหล่านั้นให้ออกมาเป็นรถยนต์ เครื่องบิน หรือปราสาท

  • การจัดเรียงเข้าด้วยกันได้เริ่มแผ่ขยายไปเป็นเวอร์ชันของความร่วมมือภายใน DeFi: โครงการ DeFi กำลังเผชิญกับข้อสงสัยหลักๆ เกี่ยวกับข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ความคงทนในตลาด และการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโครงการส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะเปิดกว้างสำหรับการร่วมงานกันในระดับชุมชน โดยเชื่อว่าชุมชนต่างๆ จะสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขึ้นมา (และชุมชนก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถ Fork เพิ่มได้) วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนนี้เป็นปัจจัยแรกๆ ที่ทำให้เกิดโทเค็นการควบคุม รวมถึงปรากฏการณ์ Yield Farming และในปัจจุบันก็มีความร่วมมือและการร่วมงานกันอย่างสร้างสรรค์เกิดขึ้นอยู่หลายครั้ง โดยแผนพัฒนาประจำปี 2021 ของ Sushiswap ถือเป็นความร่วมมือที่น่าจับตามองมากที่สุด

  • การปรับขนาดเริ่มเข้าสู่สภาวะคอขวด แต่โซลูชันการปรับขนาดก็ใกล้จะเปิดตัวแล้ว: เนื่องจากเชนอีเธอร์เรียมหลักกำลังประสบปัญหาการปรับขนาดที่น้อยเกินไป หลายๆ โปรโตคอลจึงเริ่มทดลองผสานรวมกับเครือข่าย Layer-2 หรือบล็อกเชนอื่นๆ อย่างเปิดเผย ลองติดตามได้จากความคืบหน้าสำคัญๆ ในปี 2021 นี้ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการรวมธุรกรรมภายในอีเธอร์เรียม

  • ความไม่แน่นอนของการบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับจะมีผลต่อการพัฒนา: ทั้งการยื่นฟ้อง Ripple ของ SEC และการยื่นฟ้อง BitMEX ของ CFTC ที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกันนั้นสะท้อนให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐกำลังจับตามองเงินดิจิทัลอย่างใกล้ชิด และไม่ลังเลที่จะเรียกค่าปรับจากนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในโลกตลาดเงินดิจิทัล การคาดการณ์ว่าโปรเจคใน DeFi จะได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และความไม่แน่นอนนี้จะยังส่งผลต่อการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ในพื้นที่ที่มีการบังคับใช้ระเบียบและข้อบังคับเหล่านั้นด้วย

เมื่อพูดถึงระเบียบและข้อบังคับ

แง่มุมทั้งสองด้านของการบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับ

ในไตรมาสที่ผ่านมา FinCEN และ OCC ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับเงินดิจิทัล แม้ว่าทั้งสองหน่วยงานนี้จะถูกกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ จับตาดูอยู่ แต่แนวปฏิบัติดังกล่าวกลับดูไม่สอดคล้องกับประโยชน์และข้อดีของเงินดิจิทัล

FinCEN มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับกฎหมายด้านการรู้จักลูกค้าและการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (KYC/AML) ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล (“VASP ซึ่งย่อมาจาก Virtual Asset Service Providers หรือผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์เสมือนจริง”) อย่าง Coinbase ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลจะต้องตรวจสอบตัวตนของลูกค้า (KYC) และใช้เครื่องมือตรวจสอบและวิเคราะห์หลักฐานบนบล็อกเชนในการตรวจสอบธุรกรรมเงินดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่าเงินฝากนั้นไม่ได้มาจากแหล่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย

FINCEN ได้ยื่นหนังสือขออนุมัติการแก้ไขข้อบังคับด้านรายงานบัญชีการเงินและธนาคารต่างประเทศ (FBAR) ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับความลับในกิจการของธนาคาร ในข้อที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลและ VASP ซึ่งโดยสรุปแล้ว ข้อบังคับที่ได้รับการแก้ไขนี้กำหนดให้พลเมืองของสหรัฐฯ ต้องรายงานเกี่ยวกับการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงธุรกรรมที่มียอดเกิน 1 หมื่นดอลลาร์ ไม่ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านั้นจะได้รับการถือครองภายในพื้นที่หรือไม่ก็ตาม และหากสรุปอีกครั้งจะได้ความว่า ข้อบังคับที่ได้รับการแก้ไขนั้นกำหนดให้บุคคลที่เป็นพลเมืองของสหรัฐฯ รายงานเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถือครองในบัญชีต่างประเทศที่มีมูลค่าเกินกว่า 1 หมื่นดอลลาร์ และกำหนดให้ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลหรือกระเป๋าเงินดิจิทัลจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่มียอดเกิน 3 พันดอลลาร์ และรายงานข้อมูลดังกล่าวกับ FINCEN หากมีธุรกรรมที่มียอดเกิน 1 หมื่นดอลลาร์

นอกจากนี้ การออกหนังสือแจ้งต่อสาธารณะยังกำหนดระยะเวลาแสดงความคิดเห็นไว้ที่ 15 วัน กินเวลาช่วงวันหยุดยาวของสหรัฐฯ ทำให้ผู้ให้บริการเงินดิจิทัลไม่สามารถแสดงความเห็นได้อย่างราบรื่นนัก

ผู้ให้บริการเงินดิจิทัลหลายราย (ทั้ง CoinbaseFidelitySquareCoinCenterErisX เป็นต้น) ก็ได้ออกมาแสดงท่าทีที่ไม่เห็นด้วยอย่างมากกับข้อบังคับใหม่ที่ยื่นเสนอไป โดยชี้ให้เห็นถึงประเด็นการยื่นขออนุมัติที่เร่งรัดและระยะเวลาที่ไม่เพียงพอต่อการคลี่คลายข้อสงสัย (นี่เป็นเพียงประเด็นส่วนหนึ่งเท่านั้น)

ภายหลัง กระทรวงการคลังจึงได้ขยายเวลาแสดงความคิดเห็นออกไป ทำให้ในตอนนี้ไม่สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแน่ชัดเนื่องจากเป็นคณะบริหารใหม่

สำนักงานบัญชีกลาง หรือ Office of the Comptroller of the Currency (OCC) สำนักงานอิสระในสังกัดกระทรวงการคลังที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการ “มอบอำนาจ กำกับดูแล และตรวจสอบธนาคาร” ก็ได้ออกมาแสดงท่าทีในทางตรงกันข้าม โดยจัดทำแนวปฏิบัติล่าสุดดังต่อไปนี้

  • ธนาคารกลางสามารถขับเคลื่อนการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานในบล็อกเชนสาธารณะได้ [ม.ค. 2021]

  • ธนาคารกลางสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับเหรียญที่มีราคาคงที่ได้ [ก.ย. 2020]

  • ธนาคารกลางสามารถดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลได้ [ก.ค. 2020]

จากแนวปฏิบัติที่น่าพึงพอใจเหล่านั้น ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ธนาคารกลางน่าจะเข้ามามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจของเงินดิจิทัล ผ่านการดูแลควบคุมและการดำเนินงานด้านการชำระเงิน และจากแนวปฏิบัติที่เผยแพร่เมื่อ ม.ค. 2021 ที่ได้กำหนดให้บล็อกเชนสาธารณะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย บล็อกเชนจึงมีสถานะเทียบเท่ากับ ACH หรือ SWIFT แล้ว

ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือ ธนาคารกลางจะเข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบรายใหญ่ในบล็อกเชน (ยกตัวอย่างเช่น นักขุด) หรือในทางปฏิบัติก็คือ ธนาคารจะเป็นผู้ชำระธุรกรรมในบิตคอยน์ อีเธอร์เรียม หรือชำระด้วยเหรียญที่มีราคาคงที่ในท้ายที่สุด

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของความคืบหน้าในด้านระเบียบข้อบังคับที่จำเป็น เพื่อการเชื่อมระบบเศรษฐกิจเงินดิจิทัลเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินแบบดั้งเดิม แต่อย่าลืมว่า OCC ไม่ได้เป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่กำกับดูแลด้านนี้ ดังนั้น การตีความที่แตกต่างกันออกไปของแนวปฏิบัตินี้ในระดับรัฐและรัฐบาลกลางก็จะส่งผลซึ่งกันและกัน แต่การบังคับใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวในแต่ละระดับจะต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากบล็อกเชนนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่และยังมีฟีเจอร์หลักๆ ไม่เพียงพอ (เช่น ความเป็นส่วนตัว การปรับขนาด) แต่อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้านี้ก็นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี

ต้องขอบคุณกระทรวงการคลังที่ได้ขยายเวลาแสดงความคิดเห็นออกไป ข้อเสนอในการแก้ไขดังกล่าวจึงมีท่าทีว่าจะยังไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงที่ Biden ใกล้จะเข้ามาบริหารพอดี

รวมข่าวน่าสนใจ

Coinbase

การซื้อขาย

สถาบันและหน่วยงาน

ระบบนิเวศ

ดาวน์โหลดแอป